พระเมรุมาศ พระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์

พระเมรุมาศ พระมหากษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์


ตามความเชื่อในการสร้างพระเมรุมาศเพื่อเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศแด่การถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงถึงพระเกียรติยศในวาระครั้งสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ พระเมรุมาศ จัดสร้างขึ้น ณ ท้องสนามหลวง

ขณะที่การสร้างพระเมรุมาศตามราชประเพณีกรุงศรีอยุธยาที่ยึดถึงรูปแบบพระเมรุมาศทรงปราสาทและสร้างเรือนบุษบกบัลลังก์หรือสร้างเมรุทองซ้อนอยู่ภายในเป็นรูปแบบการสร้างพระเมรุมาศตามคติการสร้างปราสาทบนเขาพระสุเมรุซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ที่สืบมาแต่โบราณ

ต่อมาคือความยิ่งใหญ่ของพระเมรุมาศตามแบบแผนกรุงเก่าได้เปลี่ยนไปในปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5) เนื่องจากเป็นยุคสมัยแห่งความเปลี่ยนแปลงหลายด้านพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ทรงปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในเวลานั้น 

รวมถึงแนวคิดต่อการแสดงออกพระบารมี ผ่านทางพระราชพิธีพระบรมศพ ต่อมาพระองค์ทรงมีพระราชดำริที่จะมิก่อสร้างพระเมรุมาศยิ่งใหญ่เช่นดังแต่ก่อน  เมื่อถึงครางานพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระองค์ทรงพระราชดำริไว้ไห้ องค์รัชทายาทคือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.6) ทรงปรับปรุงรูปแบบการสร้างพระเมรุมาศทั้งรูปทรงและวัสดุก่อสร้าง ตามที่พระองค์ทรงดำริไว้

ดังจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนของพระเมรุมาศในยุคก่อนและหลังรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5ตัวอย่างเช่นพระเมรุมาศงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.4) เป็นพระเมรุมาศทรงปราสาทยอดปรางค์ตามแบบโบราณราชประเพณีกรุงศรีอยุธยา และเป็นพระเมรุมาศองค์สุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์ที่สร้างพระเมรุมาศทรงปราสาท



พระเมรุมาศงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.4) 


พระเมรุมาศงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.5)


พระเมรุมาศงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.6)


พระเมรุมาศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(ร.9)

สำหรับพระเมรุมาศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชออกแบบโดยยึดถือคติตามขนบธรรมเนียมไทยโบราณ ตามราชประเพณีพระเมรุมาศทรงบุษบกนี้ถือเป็นรูปแบบพระเมรุมาศสำหรับกษัตริย์เท่านั้นเปประกอบไปด้วย พระเมรุมาศทรงบุษบกสูง50.49 เมตร มีชั้นเชิงกลอน 7 ชั้น ผังพื้นที่ใช้งานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 60 เมตร มีบันไดทั้งสี่ด้าน ฐานยกพื้นสูง มี 3 ชั้น ชั้นบน ที่มุมทั้งสี่ประกอบด้วยซ่างทรงบุษบก ชั้นเชิงกลอนห้าชั้น สำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ฐานชั้นที่ 2 ประกอบด้วยซุ้มทรงบุษบกรูปแบบเดียวกัน รวมสิ่งก่อสร้างมีเครื่องยอด นับรวมได้ 9 ยอด

ทางด้านการออกแบบภูมิทัศน์ มีการศึกษาเรื่องราวพระราชกรณียกิจและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อเป็นข้อมูลในการคิดออกแบบสร้างสรรค์ในแต่ละส่วนพื้นที่รอบมณฑลพิธี โดยรอบพระเมรุมาศมีการสร้างสระน้ำบริเวณ 4 มุม และได้จำลอง กังหันชัยพัฒนา เครื่องดันน้ำ ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริมาประกอบภูมิทัศน์




ภาพจำลองพระเมรุมาศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(ร.9) (ภาพจากสำนักสถาปัตยกรรม  กรมศิลปากร)


ภาพจำลองพระเมรุมาศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(ร.9) (ภาพจากสำนักสถาปัตยกรรม  กรมศิลปากร)


ภาพจำลองพระเมรุมาศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(ร.9) (ภาพจากสำนักสถาปัตยกรรม  กรมศิลปากร)


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ

ข้าพพุทธเจ้า บริษัท โฮมแมกซ์ เดอะ บิวเดอร์ จำกัด

........................................................................................................................

ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์

https://www.prachachat.net/news

http://oknation.nationtv.tv

https://www.matichon.co.th/news/359135

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บ้านสไตล์โคโลเนียล (Colonial Style)

บ้านสไตล์วิคตอเรียน (Victorian style)

บ้านสไตล์ทูดอร์ (Tudor style)